6 กรกฎาคม 2024
พี่น้องครับ ท่านอาจารย์ รศ.ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ ออกหนังสือเล่มใหม่ “TAS 12 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไม่ยากอย่างที่คิด” ที่เนื้อหาน่าสนใจมาก โพสต์นี้ขอรีวิวหนังสือเล่มนี้นะครับ
โดยหลักการแล้ว สรรพากรท่านเป็นหุ้นส่วนของกิจการที่ถือหุ้น (ลม) 20% ซึ่งเพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ท่านจึงกำหนดประมวลรัษฏากรขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือหลักการบัญชีในสายตาของสรรพากร ในขณะที่พวกเรานักบัญชีต้องทำรายงานการเงินตาม TFRS เพื่อให้กับ investor และเจ้าหนี้อ่าน ด้วยเหตุนี้วิธีคิดของประมวลฯ กับ TFRS จึงไม่ตรงกันในหลายๆ กรณี จึงก่อให้เกิด “ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax)” ขึ้นมา
การบันทึกบัญชี Deferred Tax มันไม่ได้ยากหรอกครับ แต่การคำนวณเพื่อ support ตัวเลขที่ใช้บันทึกบัญชีมันยากมาก เพราะเราจำเป็นต้องเข้าใจทั้ง TFRS และ เข้าใจทั้งประมวลรัษฎากร เพื่อบอกให้ได้ชัดๆ ว่าสองหลักการที่ว่านี้ทำให้มูลค่าตามบัญชี กับฐานภาษีต่างกันเท่าใด หนังสือเล่มนี้เน้นอธิบายเชื่อมโยง TFRS ฉบับต่างๆ เข้ากับประมวลรัษฎากร และข้อหารือสำคัญๆ โดยเริ่มต้นจากความเข้าใจธุรกรรม ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายกว่าการไปทำความเข้าใจคู่บัญชีเพียงอย่างเดียว
ค่อนข้างอ่านง่ายครับ โดยท่านอาจารย์จะเริ่มปูพื้นตั้งแต่อธิบายหลักการของ TAS 12 อธิบายความต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีตาม TFRS กับฐานภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านตัวอย่างจำนวนมาก โดยมีการไล่ลำดับตั้งแต่หลักการพื้นฐานไปจนถึงธุรกรรมซับซ้อนที่ก่อให้เกิด Deferred Tax โดยมุ่งเน้นการอธิบาย เปรียบเทียบหลักการทั้งสอง คำนวณผลต่าง และบันทึกบัญชี DTA/DTL ที่เกี่ยวข้อง
ใน 488 หน้าของหนังสือเล่มนี้ ท่านอาจารย์สร้างโจทย์ตัวอย่าง 100 ข้อ ++ ซึ่งน่าจะครอบคลุมแทบทุกธุรกรรมเท่าที่พี่น้องจะนึกออก ซึ่งอาจเป็นธุรกรรมที่ที่พี่น้องต้องเจอในชีวิตประจำวัน หรือนานๆ เจอทีก็ตาม ซึ่งตัวอย่างโจทย์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีเงินได้รอตัดบัญชีก็จะเป็นเรื่องประมาณนี้
• ประมาณการต่างๆ ได้แก่ ประมาณการหนี้สินการรับประกันคุณภาพ ประมาณการหนี้สินค่ารื้อถอนที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของ PPE
• Loss carry forward 5 ปี
• กรณีการวัดมูลค่าสินทรัพย์ / หนี้สิน ด้วยมูลค่ายุติธรรม เช่น IP, เงินลงทุนในตราสารหนี้ / ตราสารทุน
• กรณีเงินลงทุนใน ย่อย ร่วม ร่วมค้า
• ผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจาก cap. ผลต่างเป็นส่วนหนึ่งของ PPE
• กรณีที่ประมวลฯ อนุญาตให้รับรู้ค่าเสื่อม 40% ตั้งแต่วันแรก
• กรณีรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
• กรณีใช้นโยบายตีราคาใหม่สำหรับ PPE
• กรณีเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งาน PPE
• กรณีมูลค่าคงเหลือของ PPE > มูลค่าตามบัญชี
• กรณีจัดประเภท PPE เป็นสินทรัพย์รอการขาย
• กรณีทำสัญญาขายสินทรัพย์แล้วมีสิทธิ์ซื้อคืนที่เนื้อหาไม่ถือเป็นการขายจริง
• กรณีทำสัญญาขายสินทรัพย์แล้วมีสิทธิ์ซื้อคืนที่ไม่ตั้งใจซื้อกลับ
• กรณีทำสัญญาซื้อสินทรัพย์แล้วมีสิทธิ์ขายคืนที่เนื้อหาไม่ถือเป็นการซื้อจริง
• กรณีทำสัญญาซื้อสินทรัพย์แล้วมีสิทธิ์ขายคืนที่ไม่ตั้งใจขายกลับ
• กรณีเปลี่ยนหมวดจาก IP เป็น PPE หรือกลับกัน
• กรณีรายจ่ายพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
• สัญญาเช่าที่ผู้ให้เช่าลดค่าเช่า
• สัญญาเช่าที่ผู้ให้เช่าพื้นที่และลดค่าเช่า
• สัญญาเช่าที่ผู้ให้เช่าขยายสัญญาเช่า
• สัญญาเช่าซื้อ
• สัญญาเช่าที่ผู้เช่ามีสิทธิ์เลือกซื้อตอนจบสัญญา
• สัญญาขายแล้วเช่ากลับ
• การลงทุนในตราสารทุนที่วัดมูลค่าด้วย FVPL หรือ FVOCI
• การลงทุนในหุ้นกู้ที่วัดมูลค่าด้วย Amortized Cost
• การลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ
• การให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาดแล้วต้องรับรู้ Day1 Loss
• การลงทุนในหุ้นกู้ดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยผันแปร
• เงินกู้ยืมจากบริษัทใหญ่ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาด
• การลงทุนในหุ้นกู้ zero coupon bond
• สัญญาขายพร้อมให้เชื่อนานๆ (มีองค์ประกอบของการจัดหาเงินอย่างมีนัยสำคัญ)
• สัญญาขายสมาชิก fitness แบบจัดโปรถ้าสมัครเวลานานๆ
• สัญญาก่อสร้างอาคารพร้อมติดตั้งลิฟท์
• สัญญาขายสินค้าพร้อมบริการ
• สัญญาบริการแบบรวมรายการ (bundle) ที่มีหลายๆ ภาระที่ต้องปฏิบัติ
• สัญญาขายสินค้าพร้อมคูปองส่วนลด
• สัญญาบริการพร้อมสิทธิต่ออายุ / สิทธิได้สินค้าฟรี / สิทธิซื้อสินค้าในราคาส่วนลด
• สัญญาขายสินค้าพร้อมโปรแกรมสิทธิพิเศษ
• สัญญาขายสินค้าพร้อม assurance type warranty/service type warranty
• สัญญาขายสินค้าพร้อมส่วนลดภายหลัง
• สัญญาก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงสัญญา
• การคำนวณ DTA/DTL ที่เกิดจากการรวมธุรกิจ
• การเปิดเผยข้อมูลภาษีเงินได้รอตัดฯ
• ฯลฯ อีกมากกกกกมาย
700 บาทเพื่อแลกกับคู่มือทำงานแบบที่เคลียร์สุดๆ ถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากๆ ครับ เชียร์ให้พี่น้องซื้อหนังสือเล่มนี้เอาไว้แถวๆ โต๊ะทำงาน เพราะนอกจากความรู้ที่ลึกซึ้งแล้ว หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้พี่น้องประหยัดเวลา ประหยัดสุขภาพ และช่วยให้บริษัทประหยัดเงินไปมากโขที่ไม่ต้องไปว่าจ้างที่ปรึกษาค่าตัวแพงๆ มาเคลียร์ประเด็นจ๊ะ
ลิงค์นี้เป็นตัวอย่างหลายๆ เรื่องที่ท่านอาจารย์เคยกรุณาให้ CPA Solution เผยแพร่ โจทย์ตัวอย่างอีกกว่า 100 ข้อก็จะมีโครงสร้างการอธิบายและบันทึกบัญชีไม่แตกต่างไปจากนี้ครับ
https://www.facebook.com/CPASolution/posts/3139800869620034
ส่วนการสั่งซื้อพี่น้องอาจสั่งผ่านศูนย์หนังสือจุฬา https://www.chulabook.com/business-economics/179246
หรือ Lazada https://www.lazada.co.th/products/tas-12-i4695044887.html
หรือ Shopee https://shopee.co.th/chulabook_officialshop ก็ได้นะครับ
ขอบคุณมากๆ