ความต่างของ “การด้อยค่า” กับ “สัญญาสร้างภาระ”

30 พฤษภาคม 2024

พี่น้อง AC1 วันนี้เรามาทำความเข้าใจความต่างของ “การด้อยค่า” กับ “สัญญาสร้างภาระ” กันนะครับ

การด้อยค่า หมายถึงการที่สินทรัพย์ของกิจการมีมูลค่าที่จะได้คืนน้อยกว่ามูลค่าตามบัญชี ตัวอย่างเช่น สินค้าในมือราคาทุน 100 บาท คาดว่าจะขายได้ 85 บาท แต่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการขาย 5 บาท แบบนี้ถือว่ามูลค่าที่จะได้คืนสุทธิ = 80 บาท ซึ่งน้อยกว่าราคาทุน 100 บาทจึงทำให้ “ด้อยค่า 20 บาท”

สัญญาสร้างภาระ หมายถึงการที่กิจการต้องจ่ายแพงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากเงินที่จ่าย ตัวอย่างเช่น กิจการทำสัญญาซื้อวัตถุดิบระยะยาวต้องจ่ายแบบยกเลิกไม่ได้ 200,000 บาทต่อเดือน แต่ตอนนี้เจอโควิดไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ดังนั้น กิจการจึงมี “สัญญาสร้างภาระเดือนละ 200,000 บาท”

ทำความเข้าใจแบบสั้นที่สุด “ด้อยค่า คือ ข้างซ้าย (A-) สัญญาสร้างภาระ คือ ข้างขวา (L+)”

ในโจทย์ข้อสอบ AC1 ข้อ 1 ครั้งที่ 2/2565 ก็ออกสอบเรื่องนี้ โดยประเด็นเป็นแบบนี้ครับ

ก่อนสิ้นปี สั่งสินค้าต้นทุน 14.5m แต่ ณ วันสิ้นปี มูลค่าที่จะได้คืนของสินค้าเหลือแค่ 13.05m ซึ่งคำสั่งซื้อยกเลิกไม่ได้ แบบนี้บริษัทจึงต้องจ่ายแพงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ธุรกรรมนี้จึงก่อให้เกิด “สัญญาที่สร้างภาระ 1.35m” ที่ต้องรับรู้เป็นหนี้สินใน BS และรับรู้ผลขาดทุนเข้า P/L ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับของมา

ต่อมาหลังปีใหม่ คราวนี้ได้รับของมาแล้ว โจทย์มีหลายๆ กรณีให้เราบันทึกบัญชี สมมติกรณีที่ 2 ที่มูลค่าสินค้าตกลงไปอีก เหลือ 10.15m ซึ่งก็แปลว่าของที่มี “เกิดการด้อยค่าขึ้น 13.05m – 10.15m = 2.9m” จึงต้องบันทึกลดมูลค่าสินค้าใน BS ลง และรับรู้ผลขาดทุนเข้า P/L นั่นเอง

ประเด็นเรื่องสัญญาที่สร้างภาระก็ถูกใช้ออกข้อสอบใน AC1 บ่อยๆ ครับ ซึ่งปกติจะออกคู่กับการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ซับซ้อนมาก ถ้าออกมาพี่น้องคงทำได้แบบสบายๆ มือ

Google+
Line