24 กรกฎาคม 2024
พี่น้อง AC1 วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่อง “Business Model” แบบ ตั้งใจถือครองจนครบกำหนด (Hold to Collect) และ ตั้งใจถือครองจนครบกำหนดหรือขาย (Hold to Collect and Sell) ตาม TFRS 9 กันนะครับ
…………………………………….
TFRS 9 จะจัดประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน 3 แบบตาม “วิธีการวัดค่า” ซึ่งผิดจาก TAS105 ที่จัดประเภทตาม “วัตถุประสงค์ในการถือครอง” โดยประเภทของสินทรัพย์ทางการเงินตาม TFRS 9 ประกอบด้วย
+++ ราคาทุนตัดจำหน่าย (Amortized Cost – AC) ซึ่งกิจการต้องมี Business Model ที่ตั้งใจถือครองจนครบกำหนด โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่มีกระแสเงินตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย (SPPI)
+++ มูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Fair Value Through Other Comprehensive Income – FVOCI) ซึ่งกิจการต้องมี Business Model ที่ตั้งใจถือครองจนครบกำหนดหรือขาย โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่มีกระแสเงินตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย (SPPI)
+++ มูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (Fair Value Through Profit and Loss – FVPL) ซึ่งเป็นการจัดประเภทสำหรับตราสารใดๆ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของ AM และ FVOCI
…………………………………….
ซึ่ง TFRS 9 ได้อธิบาย Business Model ทั้งสองแบบไว้ดังนี้ :
สินทรัพย์ทางการเงินที่ถือตามโมเดลธุรกิจของกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการถือสินทรัพย์เพื่อรับกระแสเงินสดตามสัญญา (Hold to Collect) “เป็นการบริหารเพื่อรับรู้กระแสเงินสดโดยรับกระแสเงินสดตามสัญญาตลอดอายุของตราสาร” (TFRS9.ข4.1.2ค)
สินทรัพย์ทางการเงินตามโมเดลธุรกิจของกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทางการเงิน (Hold to Collect and Sell) “ผู้บริหารสำคัญของกิจการได้ตัดสินใจว่าการรับกระแสเงินสดตามสัญญาและการขายสินทรัพย์ทางการเงินที่ทำรวมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โมเดลธุรกิจของกิจการ” (TFRS9.ข4.1.4ก)
…………………………………….
อ่านดูแล้วงงๆ ใช่ไหมครับ? TFRS 9 จึงได้ให้ตัวอย่างประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับ Business Model ทั้งสองใน 7 ตัวอย่างในโพสต์ต่อไปนี้ พี่น้องลองศึกษากันดูนะครับ